วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทพากย์เอราวัณ

บทพากย์เอราวัณ

ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็กพระพุทธเลิศหน้านภาลัย
พระนามเดิม คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร ฉิม

จุดมุ่งหมายในการแต่ง
๑. สำหรับแสดงโขน
๒.ให้เห็นถึงโทษของการหลงใน รูป รส กลิ่น เสียง

ลักษณะการแต่ง
กาพย์ฉบัง  ๑๖

ลักษณะคำประพันธ์ 
-    บทมี    วรรค  แบ่งเป็นวรรคแรก    คำ  วรรคสอง    คำและวรรคสาม    คำ
-  ใน    บท  มีสัมผัสบังคับ    แห่ง  คือ 
                    คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคสอง
-  มีสัมผัสระหว่างบทอยู่ที่คำสุดท้ายของบทแรกกับคำสุดท้ายของวรรคแรกของบทต่อไป
 
 
เนื้อเรื่องย่อ
อินทรชิตลูกของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ เดิมชื่อรณพักตร์ เรียนวิชาศิลปศาสตร์ ณ สำนักฤาษีโคบุตร ภายหลังเรียนมนต์ชื่อมหากาลอัคคี สำหรับบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสามแล้ว ก็ไปนั่งภาวนาอยู่จนครบ  ๗ ปี พระเป็นเจ้าเสด็จมาพร้อมกันทั้งสามองค์
พระอิศวร ประทานศรพรหมาสตร์ และบอกเวทแปลงตัวเป็นพระอินทร์
พระพรหม ประทาน ศรนาคบาศ และให้พรเมื่อตายบนอากาศ ถ้าหัวขาดตกลงพื้นดินให้กลายเป็นไฟบรรลัยกัลป์ ต่อเมื่อได้พานทิพย์ของพระพรหมมารองรับ จึงจะไม่ไหม้
พระนารายณ์ ประทานศรวิษณุปาณัม
ครั้งหนึ่งทศกัณฐ์ให้รณพักตร์ไปปราบพระอินทร์  เมื่อรบชนะพระอินทร์ ทศกัณฐ์จึงให้ชื่อใหม่ว่า อินทรชิต แปลว่า มีชัยชนะแก่พระอินทร์
เมื่อ ศึกติดลงกา อินทรชิตทำพิธีชุบศรพรหมาสตร์ แต่ไม่สำเร็จ เพราะทศกัณฐ์บอกข่าวการตายของกุมภกรรณ อินทรชิตจึงออกรบโดยแปลงกายเป็นพระอินทร์ และให้การุณราชแปลงเป็นช้างเอราวัณอันงดงามเมื่อทัพพระลักษณ์เห็นก็เคลิบ เคลิ้มหลงกล อินทรชิตจึงแผลงศรนาคบาศถูกตัวพระลักษณ์และทัพวานร
 
 
จำลองเหตุการณ์แบบง่ายๆ














 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น